“ ...ประเทศต่างๆ ในโลกในระยะ ๓ ปี มานี้ คนที่ก่อตั้งประเทศที่มีหลักทฤษฎีในอุดมคติ ที่ใช้ในการปกครองประเทศล้วนแต่ล่มสลายลงไปแล้ว เมืองไทยของเราจะสลายลงไปหรือ เมืองไทยนับว่าอยู่ได้มาอย่างดี เมื่อประมาณ ๑๐ วันก่อนมีชาวต่างประเทศมาขอพบ เพื่อขอโอวาทเกี่ยวกับการปกครองประเทศ ว่าจะทำอย่างไรจึงได้ แนะนำว่า ให้ปกครองแบบคนจนแบบที่ไม่ติดตำรามากเกินไป ทำอย่างมี สามัคคี มีเมตตากัน ก็จะอยู่ ได้ตลอด
ไม่เหมือนกับคนที่ทำตามวิชาการ ที่เวลาปิดตำราแล้วไม่รู้จะทำอย่างไร ลงท้ายก็ต้องเปิดหน้าแรกเริ่มใหม่ ถอยหลังเข้าคลอง ถ้าเราใช้ ตำราแบบอะลุ้มอล่วยกันในที่ สุดได้ ก็เป็นการดี ให้โอวาทเขาไปว่าขาดทุนเป็นการได้ กำไรของเรา นักเศรษฐศาสตร์ คงค้านว่าไม่ใช่ แต่เราอธิบายได้ ว่าถ้าเราทำอะไรที่ เราเสียแต่ในที่สุดเราเสียนั้น เป็นการได้ทางอ้อม ตรงกับงานของรัฐบาลโดยตรง เงินของรัฐบาลหรืออีกนัยหนึ่ง คือเงินของประชาชน ถ้าอยากให้ประชาชนอยู่ดี กินดี ก็ต้องลงทุน ต้องสร้างโครงสร้าง ซึ่งต้องใช้เงินเป็นร้อยพัน หมื่นล้าน
ถ้าทำไปเป็นการจ่ายเงินของรัฐบาลแต่ในไม่ช้าประชาชนจะได้รับผล ราษฎรอยู่ดี กินดี ราษฎรได้กำไรไป ถ้าราษฎรมีรายได้ รัฐบาลก็เก็บภาษีได้สะดวก เพื่อให้รัฐบาลได้ทำโครงการต่อไป เพื่อความก้าวหน้าของประเทศชาติ ถ้ารู้ รัก สามัคคี รู้เสียสละ คือการได้ ประเทศชาติ ก็ จะก้าวหน้า และการที่คนอยู่ดีมีสุขนั้น เป็นการนับที่เป็นมูลค่าเงินไม่ได้...”
พระราชดำรัสที่ได้ พระราชทานแก่ตัวแทนของปวงชนชาวไทย ที่ได้ เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๔ ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน